ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธ์ลาว ซึ่งร่วมถึงชาวลาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป
ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำได้แก่ ฮีต คือคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง หมายถึง สิบสองเดือน ดังนั้นฮีตสิบสองจึงหมายถึงประเพณีที่ชาวลาวในภาคอีสาน และประเทศลาว ปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
1.นักปราชญ์โบราณได้วางฮีตสิบสองไว้ดังนี้
เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ - บุญคูณลาน
เดือนสาม - บุญข้าวจี่
เดือนสี่ - บุญผะเหวด
เดือนห้า - บุญสงกรานต์
เดือนหก - บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
งานบุญประเพณีที่เกี่ยวข้องกับฮีตสิบสองที่สำคัญของชาวอีสาน
บุญเดือนสี่ จังหวัดร้อยเอ็ด (งานประเพณีบุญผะเหวด)
บุญเดือนหก จังหวัดยโสธร (งานประเพณีบุญบั้งไฟ)
บุญเดือนแปด จังหวัดอุบลราชธานี (งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา)
บุญเดือนสิบเอ็ด จังหวัดนครพนม (งานประเพณีออกพรรษาไหลเรือไฟ) และจังหวัดสกลนคร (งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง)
คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คองหมายถึง แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังนี้
เป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง
เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อพระมหากษัตริย์
เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนในครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน
เป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี
แต่ละข้อมีคำว่าฮีตนำหน้าด้วย (ทำให้เกิดความสับสนกับฮีตสิบสอง) แต่ละคองจะมีสิบสี่ฮีต ยกเว้น ฮีตปีคลองเดือน จะมีเพียงสิบสองฮีต ซึ่งนั่นก็คือฮีตสิบสองที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น
เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม
เดือนยี่ - บุญคูณลาน
เดือนสาม - บุญข้าวจี่
เดือนสี่ - บุญผะเหวด
เดือนห้า - บุญสงกรานต์
เดือนหก - บุญบั้งไฟ
เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ
เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน
เดือนสิบ - บุญข้าวสาก
เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
เดือนสิบสอง - บุญกฐิน
งานบุญประเพณีที่เกี่ยวข้องกับฮีตสิบสองที่สำคัญของชาวอีสาน
บุญเดือนสี่ จังหวัดร้อยเอ็ด (งานประเพณีบุญผะเหวด)
บุญเดือนหก จังหวัดยโสธร (งานประเพณีบุญบั้งไฟ)
บุญเดือนแปด จังหวัดอุบลราชธานี (งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา)
บุญเดือนสิบเอ็ด จังหวัดนครพนม (งานประเพณีออกพรรษาไหลเรือไฟ) และจังหวัดสกลนคร (งานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง)
คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คองหมายถึง แนวทาง หรือ ครรลอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี หรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติสิบสี่ข้อ ดังนั้นคองสิบสี่จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง พระสงฆ์ และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติสิบสี่ข้อ อาจสรุปได้หลายมุมมองดังนี้
เป็นหลักปฏิบัติกล่าวถึงครอบครัวในสังคม ตลอดจนผู้ปกครองบ้านเมือง
เป็นหลักปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง และหลักปฏิบัติของประชาชนต่อพระมหากษัตริย์
เป็นหลักปฏิบัติที่พระราชายึดถือปฏิบัติ เน้นให้ประชาชนปฏิบัติตามจารีตประเพณี และคนในครอบครัวที่ปฏิบัติต่อกัน
เป็นหลักปฏิบัติในการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เป็นสุขตามจารีตประเพณี
แต่ละข้อมีคำว่าฮีตนำหน้าด้วย (ทำให้เกิดความสับสนกับฮีตสิบสอง) แต่ละคองจะมีสิบสี่ฮีต ยกเว้น ฮีตปีคลองเดือน จะมีเพียงสิบสองฮีต ซึ่งนั่นก็คือฮีตสิบสองที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น
2 .คองประกอบด้วย
ฮีตเจ้าคองขุน
ฮีตท้าวคองเพีย
ฮีตไพร่คองนาย
ฮีตบ้านคองเมือง
ฮีตปู่คลองย่า
ฮีตตาคองยาย
ฮีตพ่อคองแม่
ฮีตใภ้คองเขย
ฮีตป้าคองลุง
ฮีตลูกคองหลาน
ฮีตเถ้าคองแก่
ฮีตปีคองเดือน (ฮีตสิบสอง)
ฮีตไฮ่คองนา
ฮีตวัดคองสงฆ์
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ฮีตเจ้าคองขุน
ฮีตท้าวคองเพีย
ฮีตไพร่คองนาย
ฮีตบ้านคองเมือง
ฮีตปู่คลองย่า
ฮีตตาคองยาย
ฮีตพ่อคองแม่
ฮีตใภ้คองเขย
ฮีตป้าคองลุง
ฮีตลูกคองหลาน
ฮีตเถ้าคองแก่
ฮีตปีคองเดือน (ฮีตสิบสอง)
ฮีตไฮ่คองนา
ฮีตวัดคองสงฆ์
ขอขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น