วัดพระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บนไหล่เขาภูพาน ซึ่งอยู่บริเวณอาณาเขตของ อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นวัดเก่าแก่ที่มีความสำคัญต่อชาวอุดรธานีอีกแห่งหนึ่ง ห่างจากหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (อุดรธานี-หนองคาย) ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายที่บริเวณบ้านดงไร่ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๒๐๒๑ เพื่อไปยังอำเภอบ้านผือเป็นระยะทาง ๔๓ กิโลเมตร จากนั้นจึงเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข ๒๓๔๘ (บริเวณแยกโรงพยาบาลบ้านผือ ซึ่งจะไปยังอำเภอน้ำโสม) เป็นระยะทาง ๘ กิโลเมตร จนถึงบริเวณสามแยกบ้านติ้ว ก็ให้ขับรถตรงขึ้นเขาตามถนนลาดยาง อีกประมาณ ๔ กิโลเมตร ก็เข้าสู่เขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ถึงทางแยกเข้าอุทยานฯ ให้ตรงไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึง วัดพระบาทบัวบก
จุดเด่นของวัดมี พระธาตุเจดีย์ใหญ่ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๗๙ โดยสร้างขึ้นครอบรอยพระพุทธบาทเอาไว้ คำว่า บ่บก เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดตามป่า มีหัวและใบคล้ายใบบัว ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "ผักหนอก" บ่บกนี้คงมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า พระพุทธบาทบัวบก อาจมาจากคำว่า บัวบก ซึ่งหมายถึงไม่แห้งแล้งนั้นเอง
ซึ่งตำนานของชาวอีสานกล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ในที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ ดอยนันทะดังฮี ในแคว้นหลวงพระบาง ได้ทรงทราบว่า นาคแถบฝั่งโขงมีความดุร้าย มักรบกวนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ เพื่อที่จะโปรดสัตว์ให้พ้นทุกข์ พระองค์จึงได้เสด็จไปยัง ถ้ำหนองบัวบาน และ ถ้ำบัวบก อันเป็นที่อาศัยของนาค ๒ ตัว คือ กุทโธปาปนาค และ มิลินทนาค พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมแก่กุทโธปาปนาค เมื่อกุทโธปาปนาคได้สดับพระธรรมเทศนาก็บังเกิดความเลื่อมใสประกาศตนเป็นอุบาสก และถือพระไตรสรณาคมน์เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิต หลังจากนั้นกุทโธปาปนาคก็นึกถึงน้องชายคือมิลินทนาคว่า ควรจะได้สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์เช่นตน เพื่อจะได้ประพฤติตนในทางที่ถูกที่ควร จึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงถ้ำบัวบกอันเป็นที่อยู่ของมิลินทนาค มิลินทนาคก็แสดงฤทธิ์อำนาจเพื่อขัดขวาง และทำร้ายพระพุทธองค์ด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดจึงได้แปลงร่างเป็นมนุษย์ เข้าไปนมัสการพระพุทธองค์เพื่อขอขมา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดมิลินทนาคเมื่อมิลินทนาคได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ก็สำนึกผิดในสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้วและทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากมิลินทนาคมิใช่มนุษย์ พระพุทธองค์จึงอุปสมบทให้ไม่ได้ เพราะผิดพระวินัย
บริเวณวัดพระพุทธบาทบัวบก มีสถานที่อันเนื่องมาจากตำนานข้าวต้น คือ ถ้ำพญานาค อยู่ไม่ไกลจากพระพุทธบาทนัก มีลักษณะเป็นรูโพรงขนาดใหญ่ พอที่คนสองคนจะลงไปได้พร้อม ๆ กัน กล่าวกันว่าเป็นที่อาศัยของพญามิลินทนาคตามตำนาน และเชื่อกันว่ารูถ้ำพญานาคนี้ สามารถทะลุออกไปสู่แม่น้ำโขงได้หลังจากนั้นพระพุทธบาทแห่งนี้ก็ถูกทอดทิ้งมาเป็นระยะเวลานานกว่าสองพันปี อาจจะมีผู้บูรณะมาตามลำดับแต่ไม่ปรากฏหลักฐาน การบูรณะครั้งล่าสุดดังที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นการบูรณะเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๒ โดยมีพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม มี พระศรีทัต เป็นผู้นำ ได้ธุดงค์มาตามลำดับจนถึง อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
รอยพระบาทหลังเต่า เป็นรอยพระบาทอีกรอยหนึ่งที่พบอยู่ในเขตอุทยานฯ ภูพระบาท สำหรับชื่อเรียก"พระบาทหลังเต่า" นั้น เนื่องมาจากที่บริเวณใกล้เคียงกันนี้ มีหินทรายก้อนหนึ่งมีรูปร่างคล้ายเต่า ชาวบ้านจึงเรียก รอยพระบาทนี้ว่า "รอยพระบาทหลังเต่า" เพื่อเป็นการบอกตำแหน่งที่ตั้งของรอยพระบาท รูปทรงของรอยพระบาทเป็นแอ่งหินรูปคล้ายฝ่าเท้า หันส่วนปลายเท้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตรงกลางของฝ่าเท้าทำเป็นรูปกลีบบัวบานซ้อนกัน รอยพระพุทธบาทบัวบก รอยพระพุทธบาทหลังเต่า รอยพระบาทนี้กว้าง ๗๑ ซม. ยาว ๑๖๘ ซม. บริเวณโดยรอบรอยพระพุทธบาทพบการสกัดหินเป็นหลุมกลมและช่องสี่เหลี่ยมยาวล้อมเป็นกรอบเอาไว้นอกจากนี้ยังมีแนวหลุมกลมเรียงเป็นแถวไปทางด้านหน้า ซึ่งลักษณะของแนวหลุม สันนิษฐานได้ว่า แต่เดิมน่าจะมีอาคารรอยพระพุทธบาทนี้เอาไว้ในลักษณะคล้ายห้องโถงยาว แต่อาจสร้างด้วยเครื่องไม้ จึงพังทลายไปหมดแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น